เที่ยวเมืองเก่า สืบสารตำนานพุทธ เมืองส่งธรรม นครศรีธรรมราช
วันนี้จะขอพาท่านผู้อ่านไปชมบรรยากาศแห่งลุมน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่รวม 13 อำเภอ คือ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ พื้นที่บางส่วนของอำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอควนขนุน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รวมพื้นที่ประมาณ 1.9 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นากว่า 500,000 ไร่ มีประชากรประมาณ 600,000 คน อดีตขอบลุ่มน้ำแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูก มีการทำนามากที่สุดโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของลุ่มน้ำปากพนัง จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวของภาคใต้ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุก ๆ ด้าน จนเป็นที่รู้จักกันของผู้คนอย่างกว้างขวาง ในนาม “เมืองแห่งอู่ข้าวอู่น้ำ” แต่ด้วยประชากรที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ 30 กว่าปีก่อนนี้ ชาวลุ่มน้ำปากพนังต้องเผชิญ ปัญหาต่างทางธรรมชาติ จึงทำให้ได้รับความเดือดร้อน การทำนาไม่ได้ผล ผลผลิตต่ำ ราษฎรมีฐานะยากจน น้ำท่วม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎร จึงเป็นที่มาของการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ลุ่มน้ำปากพนังดังเช่นในอดีต
ยังไม่หมดแค่นี้ทางทีมงานได้นำท่านผู้อ่านเดินทางมาถึงลุ่มน้ำปากพนังแล้วก็ขอถือโอกาสนี้แวะไปกราบสักการะ เกจิอาจารย์ดังแห่งลุ่มน้ำปากพนังกันก่อนนะคะ หากพูดถึงเกจิอาจารย์ดังแห่งลุ่มน้ำปากพนังหลายๆท่านคงร้อง อ๋อ! กันเลยทีเดี๋ยว ถูกแล้วค่ะทางทีมานขอนำท่านผู้ชมไปกราบสักระ หลวงปู่เขียว ณ วัดหรงบน กันค่ะ
วัดหรงบน ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตะพง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบันทึกไว้ในหนังสือประวัติวัดจังหวัดนครศรีธรรมราชว่าตั้งเมื่อ พ.ศ.2114 ยังไม่มีวิสุงคามสีมา มีคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่าได้ย้ายมาจากวัดสระหนองหอย (เป็นที่รกร้างมีแต่ซากอิฐเก่าๆให้เห็น) มาตั้งใหม่เป็นวัดหรงบน ไม่ปรากฏลำดับเจ้าอาวาส มีแต่คำบอกเล่าว่า ในอดีตมีพระเถระเป็นสมภารผู้ตั้งวัดและได้เก็บอัฏฐิใส่ไว้ในพระประธานที่ศาลาการเปรียญ3องค์ชื่อว่า สมภารทองปาน สมภารทองหอม สมภารทองห่อ จนมาถึงอาจารย์เอียด(พ่อท่านเอียด)อาจารย์ของหลวงปู่เขียว อินทมุนี ซึ่งหลังพ่อท่านเอียดมรณะชาวบ้านก็ได้นิมนต์ให้หลวงปู่เขียวมาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไปจนหลวงปู่เขียวมรณะ วัดหรงบนก็ว่างเว้นเจ้าอาวาสอยู่หลายปี ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ อาจารย์สมนึก ฉันทธัมโม มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2537สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
กลับจากลุ่มน้ำปากพนังแล้วขอเข้าเมืองอีกรอบ เนื่องจากทางทีมงานได้รับเกรียติจาก คุณจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และ คุณลัดดาวัลย์ ช่วยชาติ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช คุณอิงอร คงชู ผู้ช่าวผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช ให้ทางทีมงานได้เข้าชมงานการประกวดพระเครื่องเมืองนครรวมถึงพระเครื่องทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ เนื่องจากการจัดงานครั้งนี้ทาง จังหวัด และสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ร่วมสนับสนุน
ทางทีมงานต้องขอขอบพระคุณ ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช และ ทาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช ที่ให้ทางทีอำนวยความสะดวกกับทางทีมงาน เที่ยวเมืองเก่า สืบสารตำนานพุทธ เมืองส่งธรรม นครศรีธรรมราช ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้กลับมาเยื่อนเมื่องเก่าแห่งนี้อีกครั้งคะ
เที่ยวเมืองเก่า สืบสารตำนานพุทธ เมืองส่งธรรม นครศรีธรรมราช ตอนที่ 1