องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทาน ไปมอบให้แก่ราษฎร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 14.00 น. ที่หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ ที่ 3 (กลุ่มบ้านมะโนรา) ” ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญสิ่งของพระราชทาน และเสื้อกันหนาวพระราชทาน ไปมอบให้แก่นักเรียน ,ราษฎร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “ป่าสักนวมินทรราชินี” ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ ที่ 1 กลุ่มบ้านนาอ่อน มอบสิ่งของพระราชทานจำนวน 251 ชุด และ เสื้อกันหนาวพระราชทาน จำนวน 41 ตัว หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ ที่ 2 กลุ่มบ้านห้วยซลอบ มอบสิ่งของพระราชทาน จำนวน 94 ชุด และเสื้อกันหนาวพระราชทาน จำนวน 128 ตัว หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ ที่ 3 กลุ่มบ้านมะโนรา มอบสิ่งของพระราชทาน จำนวน 58 ชุด และเสื้อกันหนาวพระราชทาน จำนวน 19 ตัว และหน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 4 กลุ่มบ้านห้วยปมฝาด มอบสิ่งของพระราชทาน จำนวน 62 ชุด และเสื้อกันหนาวพระราชทาน จำนวน 25 ตัว

โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ “ป่าสักนวมินทรราชินี” เป็นโครงการที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อปี 2553 ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำเรียนขอพระราชทาน ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทานชื่อโครงการฯแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”ด้วย

โดยแบ่งพื้นที่ดำเนินงานออกเป็น 4 หน่วยปฏิบัติการ ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 1 กลุ่มบ้านนาอ่อน /หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 2 กลุ่มบ้านห้วยซลอบ /หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 3 กลุ่มบ้านมะโนรา /และหน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 4 กลุ่มบ้านปมฝาด /ดูแลพื้นที่ รวมจำนวน 498.87 ตารางกิโลเมตร หรือ 311,792 ไร่ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ถูกบุกรุกทำลาย โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศและรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่โครงการฯ จำนวน 4 หมู่บ้าน 654 ครัวเรือน 2,285 คน /สืบสานแนวพระราชดำริ อนุรักษ์แหล่งป่าไม้สักมีค่า และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ให้มีระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสมและมีทางเลือกในการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทศพล / แม่ฮ่องสอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *