เปิดไทม์ไลน์ อุมเราะห์ หลัง พบเชื้อโควิดโอไมครอน จากผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศซาอุดีอาราเบีย
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย รวมถึงคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ เมื่อประสงค์เดินทางเข้าประเทศไทย ทาง ศบค. ได้กำหนดให้ลงทะเบียนในระบบ Thailand pass โดยมีให้เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยได้ 3 ช่อง ทาง คือ
1. ช่องทาง Test and Go
2. ช่องทาง Sandbox program
3. ช่องทาง Happy Quarantine scheme
ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการในป้องกันและควบคุมโรคระบาดโควิด-19
ปัจจุบันกลุ่มผู้แสวงบุญที่เดินทางกลับจากประเทศซาอุดีอาราเบีย เลือกลงทะเบียนในช่องทางที่ 1 คือ Test and Go และ ช่องทางที่ 2 คือ Phuket sandbox ตามมาตรการผู้แสวงบุญทุกคนต้องปฏิบัติ คือ ก่อนออกเดินทางจะประเทศซาอุดีอาราเบีย จะต้องได้รับการตรวจ RT-PCR ทุกราย หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อ) จะต้องเข้ารับการรักษาตัวที่หน่วยงานการแพทย์ของประเทศซาอุดีอาราเบียทุกราย หากผลออกเป็นลบ(ไม่พบเชื้อ) จึงสามารถเดินทางได้ และเมื่อผู้แสวงบุญเดินทางถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ต จะได้รับการตรวจ RT-PCR อีกครั้ง เป็นมาตรการขั้นที่ 2 และผู้เดินทางจะต้องเข้าพักโรงแรมที่ลงทะเบียนในระบบ SHA+ เป็นเวลาอย่างน้อย1 คืน หรือจนกว่าจะทราบผลตรวจ RT-PCR หากผลตรวจเป็นบวก (พบเชื้อ) จะได้รับประสานงานจากสาธารณสุขพื้นที่ เพื่อเข้ารับการดูแลตามมาตรฐานการแพทย์ หากผลตรวจเป็นลบ (ไม่พบเชื้อ) จะได้รับอนุญาตให้เดินทางต่อไปยังปลายทางได้
ในจำนวนผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้ ผลตรวจ RT-PCR ที่ประเทศซาอุดีอาราเบีย เป็นลบ (ไม่พบเชื้อ)ทุกราย จึงสามารถเดินทางออกจากประเทศซาอุดีอาราเบียได้ และเมื่อมาถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ตได้ตรวจ RT-PCR ซ้ำพบว่าเป็นบวก 5 ราย และได้ทำการตรวจยืนยันซ้ำด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้งพบว่าเป็นบวกเพียง 3 ราย เป็นชาวปัตตานี 2 ราย และชาวนราธิวาส 1 ราย ซึ่งทางสาธารณสุขพื้นที่ได้ติดต่อประสานงานดูแลรักษาตามมาตรฐานการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ร่วมเดินทางที่ผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ ได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตุอาการในห้องพักต่ออีก จำนวน 5 วัน ซึ่งเลยระยะฟักตัวของเชื้อแล้ว อธิบายได้ว่าหากมีเชื้อในร่างกายจะแสดงอาการออกมาภายใน 3 วัน ดังนั้นหากเลยระยะฟักตัว 5 วัน คาดว่าจะไม่มีเชื้อโควิดแล้ว สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทุกรายได้รับการตรวจ ATK ก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและรัดกุมมากขึ้น ทางสาธารณสุขได้แนะนำให้ผู้เดินทางทุกคนกักตัวเองต่อเนื่องจนครบ 14 วันเมื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาของตัวเอง และทางสาธารณสุขจะส่งข้อมูลไปยังพื้นที่เพื่อร่วมติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผู้เดินทางอุมเราะห์ ครั้งนี้ทั้งหมด 137 คนแยกการเดินทางออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรก 50 กว่าคน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 70 กว่าคน ทั้ง 2 กลุ่มแยกเดินทางคนละ วัน โดย กลุ่มแรก วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ทาง เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขเมกกะ ได้ RT-CPR ผลตรวจออกมาเป็นลบ ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางกลับออกจากสาอุฯวันที่ 11 ธันวาคม ถึง ภูเก็ตวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และเข้ากักตัวที่โรงแรม ตามมาตราการ Phuket sandbox จำนวน 5 วัน จากนั้น วันที่ 17 ธันวาคม ทั้งหมด เดินทางกลับภูมิลำเนาพร้อมกักตัวที่บ้านอีก 14 วันตามมาตราการสาธารณะสุขทุกขันตอน โดยรวม จากการตรวจสอบข้อมูล ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มและทั้งหมดมีสุขภาพปกติทุกอย่าง
เชื้อโควิด 19 เป็น RNA virus ซึ่งธรรมชาติของไวรัสชนิดนี้จะมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพบว่ามีการกลายพันธุ์ไปแล้วมากกว่า 1000 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับการสนใจเป็นพิเศษได้แก่ 4 สายพันธุ์ คือ แกมม่า อัลฟ่า เบต้า และเดลต้า แต่ปัจจุบันมีสายพันธุ์ใหม่เพิ่มมาอีก 1 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งสายพันธุ์นี้ถูกรายงานครั้งแรกที่แอฟริกา โดยอาการส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับโรคโควิดสายพันธุ์อื่นๆ คือ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบเล็กน้อย ไม่มีไข้ จมูกรับกลิ่นปกติ การรักษา ยังคงเป็นเป็นแนวทางเดียวกับการรักษาของสายพันธุ์อื่นๆ คือ รับประทานยาต้านไวรัส และแยกตัวรักษาเป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบ 10 วันแล้วสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติตามวิถีใหม่ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และหลีกเลี่ยงชุมชน
การทำอุมเราะห์ เรียกง่ายๆ ว่า “การแสวงบุญเล็ก” ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ต่างจากการทำ “ฮัจย์” หรือ “การแสวงบุญใหญ่” ซึ่งใช้เวลานานกว่า และกำหนดให้มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถต้องปฏิบัติ แต่การทำอุมเราะห์นั้นไม่ได้เป็นภาคบังคับ หากมีโอกาสได้ไปและใช้เวลาอยู่ในมัสยิดฮารอมหลายวัน ก็จะยิ่งได้รับผลบุญมาก
อะหมัด รามันห์สิริวงศ์/ยะลา/19 ธ.ค. 64