“ส้มสีทองน่าน” ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีลักษณะเด่นที่ แตกต่างจากส้มเขียวหวานทั่วไป คือ มีผิวสีเหลืองทอง เปลือกบาง รสชาติหวานอมเปรี้ยว เส้นใยน้อย ไม่ฉ่ำน้ำ ผลทรงแป้น หัวและท้ายบุ๋ม ด้วยสภาพภูมิอากาศของจังหวัดน่านทำให้ผลส้มมีผิวเปลือกสีเหลืองทอง เป็นส้มเปลือกบาง เนื้อมีเส้นใยน้อย ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย รสชาติอร่อย และเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของ จังหวัดน่านอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศของจังหวัดน่านที่แตกต่างจากแหล่งปลูกส้มอื่น ๆ ส่งผลให้ส้มที่ ปลูกที่จังหวัดน่านมี“สารคาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทอง จนเป็นที่มาของ “ส้ม สีทองน่าน”
โดยอำเภอทุ่งช้างมีพื้นที่ปลูกส้มสีทองมากที่สุด โดยจุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้เกิดจากการที่วิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มการผลิตไม้ผลเพื่อการตลาดบ้านวังผา อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นชุมชนผู้ปลูกส้มสีทอง พบปัญหาผลผลิตที่ออกมาบางครั้งไม่เป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมากต้องทิ้งและก่อให้เกิดความสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี ศรีแย้ม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน จึงมี แนวคิดนำผลส้มมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ส้มสีทองน่าน และด้วยการเติบโตของ ภาคการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรแล้วยัง
เป็นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เป็นของฝากของที่ระลึกประจำจังหวัดน่านได้ในอนาคต จึงได้รวมหารือกับคณะ นักวิจัยในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารสวนเกษตรส้มสีทอง ที่เชื่อมโยงแนวทางการท่องเที่ยว รูปแบบใหม่ โดยผสมผสานการท่องเที่ยวสร้างสรรค์กับการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้นักท่องเที่ยวได้ทราบ
เรื่องราวของส้มสีทองน่าน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต จนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่งเสริม ให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดน่าน เกิดรายได้ และการจ้างงานในชุมชน รวมถึงบรรเทาปัญหา ผลผลิตล้นตลาดและการขาดทุนของเกษตรกรผู้ผลิตส้มสีทองของชุมชน ประกอบกับปัจจุบัน จังหวัดน่านเป็น เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เนื่องมาจากความสวยงามของทรัพยากรทางธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของจังหวัด น่าน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานอกเหนือจากอำเภอเมือง การท่องเที่ยวมีการกระจุกตัวอย่างมากในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดน่านตอนบนในเส้นทางท่องเที่ยวอำเภอทุ่งช้างและพื้นที่เชื่อมโยงจึงเป็นสิ่ง
สำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและก่อให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวในจังหวัด น่าน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่านในการพัฒนาเส้นทางการ ท่องเที่ยวใหม่ในพื้นที่น่านตอนบนเพื่อสร้างการกระจายตัวของการท่องเที่ยว ลดการกระจุกตัวของการ ท่องเที่ยวในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่านจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมกับงานวิจัยในการพัฒนาเส้นทางการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สวนเกษตรส้มสีทองจังหวัดน่าน
ืงานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยมีนักวิจัยจากหลาย มหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศมาร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสร้างสรรค์และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์สวนเกษตรส้มสีทอง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน และวิทยาเขตพิษณุโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพร่-เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้ามา ดำเนินการวิจัยภายใต้โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารจากส้มสีทองน่านเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ ชุมชนและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดน่าน โดยมีบ้านวังผาเป็นจุดกิจกรรมท่องเที่ยวหลักและมี ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งสิ้น 7 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ชาแยมส้มสีทอง วุ้นสวรรค์ส้มสีทอง เครื่องดื่มส้มสีทองผสม
เกล็ดส้ม พุดดิ้งส้มสีทอง กาแฟส้มลาเต้ ชีสส้มคิวบ์และส้มสีทองลอยแก้ว ผนวกกับเส้นทางท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ที่มีแหล่งเช็คอินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่านเข้าร่วมเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ได้แก่
1) ร้านกาแฟ Erabica อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
2) วัดศรีมงคล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3) ดอยซิลเวอร์แฟคเตอรี่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน
4) ร้านถุงทองคาเฟ่ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
5) กระท่อมทาร์ซาน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ทั้งนี้ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สวนเกษตรส้มสีทอง จังหวัดน่านได้รับการส่งเสริม และร่วมพัฒนาตั้งแต่ต้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน ที่เล็งเห็นศักยภาพของเส้นทางการ ท่องเที่ยวนี้ที่สามารถขับเคลื่อนเป็นเส้นทางที่ถูกบรรจุอยู่ในการเสนอขายและการประชาสัมพันธ์เส้นทางการ
ท่องเที่ยวใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน และที่สำคัญมีการเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ใน จังหวัดน่านเข้ามาในเส้นทางการท่องเที่ยวนี้ โดยผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการนี้มีรายละเอียด ดังนี้
น้ำส้มสีทองผสม เกล็ดส้ม
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ
GI) ของจังหวัดน่าน
– เป็นเครื่องดื่มพลังงานต่ำที่ลดปริมาณน้ำตาลลง
50% ด้วยสารสกัดหญ้าหวานและซูคราโลสทดแทน
น้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
และต้องการความสดชื่น
– เก็บได้นาน 6 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง
ผศ.ดร.อรรณพ ทัศนอุดม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา พิษณุโลก
โทรศัพท์ 055-298-438 ต่อ 1188,
086-9262662
E-mail: unnop_tas@rmutl.ac.th
หรือ 2521unnop@gmail.com
วุ้นสวรรค์ส้มสี ทอง
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ
GI) ของจังหวัดน่าน
– เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใยอาหารสูง สร้างจากจุลินทรีย์
ธรรมชาติ ช่วยให้อิ่มท้องนาน และดีต่อระบบ
ทางเดินอาหาร
อ.วิรัน วิสุทธิธาดา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา น่าน
โทรศัพท์ 086-1839988
E-mail: runvi_k@rmutl.ac.th หรือ
viranvisutthithada@gmail.com
ชาแยมส้มสีทอง
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ของจังหวัดน่าน
– ใช้รับประทานทั้งแบบเป็นแยม และส่วนผสมของ
– เครื่องดื่ม มีกลิ่นหอมอ่อนของเปลือกส้ม
– ผศ.ดร.อิศรา วัฒนนภาเกษม
– มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระ
– เกียรติ
– โทรศัพท์ 099-6196941
– E-mail: w_isara@hotmail.com
ส้มสีทองลอยแก้ว
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
– ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ของจังหวัดน่าน
– ให้พลังงานต่ำที่ลดปริมาณน้ำตาลลงด้วยสารสกัด หญ้าหวานทดแทนน้ำตาล
– ผ่านการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไลซ์จึงเก็บรักษาไว้ได้
– นานโดยไม่ต้องแช่เย็น
– ผศ.ดร.สุภาวดี ศรีแย้ม
– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
– ล้านนา น่าน
– โทรศัพท์ 061-4651594
– E-mail: sriyams1116@gmail.com
– หรือ supawadee_s@rmutl.ac.th
กาแฟลาเต้ส้ม
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
– ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ของจังหวัดน่าน
– คัดสรรมาเป็นอย่างดีจากเมล็ดกาแฟผสมระหว่างอ ราบิก้า และโรบัสต้าน่าน
ผศ.ดร.เฉลิมพล ถนอมวงค์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา พิษณุโลก
โทรศัพท์ 055-298-438 ต่อ 1188,
094-6282232
E-mail: chalermpol@rmutl.ac.th,
joepd13@hotmail.com
พุดดิ้งส้มสีทอง
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ของจังหวัดน่าน
– เป็นสูตรน้ำตาลต่ำ หวานน้อย
– ผ่านการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไลซ์ จึงเก็บรักษาไว้ได้ นานโดยไม่ต้องแช่เย็น
อ.วรรณภา สระพินครบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา พิษณุโลก
โทรศัพท์ 055-298-438 ต่อ 1188,
089-1030341
E-mail:
wannapa_noo@yahoo.co.th
ชีสส้มสีทอง
– ผลิตจากวัตถุดิบส้มสีทองซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ของจังหวัดน่าน
– อุดมไปด้วยโปรตีนจากชีส และวิตามินซีจากส้ม
– ไม่เติมน้ำตาลทราย ไม่เติมเกลือ ไม่เติมกลิ่น
สังเคราะห์ และไม่ใช้วัตถุกันเสีย
– รับประทานเป็นอาหารว่างหรือนำไปทำเป็น
ส่วนผสมหรือ Topping ในเมนูที่เพิ่มคุณค่าจากชีส ส้ม
ผศ.ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โทรศัพท์ 089-2057377
E-mail: jeabkrittiya@gmail.com
เส้นทางท่องเที่ยว
เชิงสร้างสรรค์
สวนเกษตรส้มสี ทอง จังหวัดน่าน
– เน้นกิจกรรม 5ช. ชม แช๊ะ ชิม ช้อป ช่วยเพื่อสร้าง
– ประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับ
– นักท่องเที่ยว
– – เส้นทางท่องเที่ยวมีการเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ทั้ง 7
ประเภทข้างต้น
รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทรศัพท์: 0910458989
Email: psiwarit/บุญยงค์ สดสอาด สื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน