“นิพนธ์” เดินหน้าเร่งแก้ไขปัญหาที่ทำกิน หวังแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนให้สมัชชาคนจน

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ Application: Zoom Meeting สู่คณะอนุกรรมการทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมจากนอกสถานที่ เพื่อลดการรวมตัวกันจำนวนมากตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
นายนิพนธ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน จำนวน 9 พื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ ลพบุรี และจังหวัดสุรินทร์ อาทิ กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองกุง” ตําบลศรีสมเด็จ อําเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ , กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ดอนหลักดํา” ตําบลบ้านโนน อําเภอซําสูง จังหวัดขอนแก่น ,กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกภูกระแต-บ้านไผ่ล้อม” ตําบลอาจสามารถ อําเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ,กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ดงคัดเค้า” ตําบลอุ้มเหม้า อําเภอธาตุพนม และ ตําบลพุ่มแก อําเภอนาแก จังหวัดนครพนม ,กรณีปัญหาการประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตต์หวงห้ามที่ดิน อําเภอปากน้ำโพ อําเภอพยุหะคีรี อําเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช 2479 ทับที่ดิน ทํากินของราษฎร , กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “กุดทิง” ตําบลบึงกาฬ อําเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “บะหนองหล่ม” ตําบลท่าสะอาด อําเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ , กรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ แปลง “หนองริ้นร้าน” แปลง “โคกหนองโพธิ์” แปลง “หนองปลิง” แปลง “โนนก้อม” ตําบลหนองยายโต๊ะ อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และกรณีปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองเหล็ก” ตําบลแคน อําเภอสนม จังหวัดสุรินทร ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบข้อสังเกตการณ์จากกลุ่มสมัชชาคนจน และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาในแต่ละกรณีร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจน รวมถึงรายงานผลให้คณะกรรมการทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
“สำหรับในส่วนของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์นั้น คาดว่า จะมีความคืบหน้าที่สุด โดยเมื่อหลังจากผ่านการประชุม กบร.ของจังหวัดแล้วจะสามารถดำเนินการได้จำนวน 121 แปลง” นายนิพนธ์กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *